รากฟันเทียม สร้างจากโลหะไททาเนียมให้มีรูปร่างบิดเกลียวคล้ายตะปูควง (screw) ซึ่ง ทันตแพทย์จะทำการฝังบนกระดูกรองรับฟันเพื่อใช้รองรับและให้ความมั่นคงแก่ทันตกรรมประดิษฐ์ที่เหมาะสมเช่น ครอบฟัน สะพานฟัน หรือแผงฟันปลอม
ทันตกรรมรากเทียม มีความคล้ายคลึงกับฟันธรรมชาติ ประกอบด้วย
- รากเทียมไททาเนียม มีหน้าที่เสมือนรากฟันตามธรรมชาติ ปลูกลงบนกระดูกรองรับฟัน รากฟัน ฝังอยู่ในกระดูกรองรับฟันเพื่อเป็นหลักยึดให้แก่ฟัน
- เสารยึดและครอบฟัน ทันตกรรมประดิษฐ์ซึ่งใช้ยึดติดกับรากเทียมเพื่อใช้แทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป
- ตัวฟัน เป็นส่วนที่พ้นเหงือกขึ้นมา

ข้อดีของการปลูกรากฟันเทียมไททาเนียม
- ช่วยเพิ่มความมั่นใจและคุณภาพชีวิต
- ลดขนาดและรูปร่างพร้อมทั้งให้ความเป็นธรรมชาติมากขึ้นแก่สะพานฟันและฟันปลอม
- ลดปัญหาการเสียเนื้อฟันซึ่งมีความจำเป็นในการทำสะพานฟันแบบทั่วไป
- ความแข็งแรงและมั่นคงของรากฟันเทียมช่วยเพิ่มความสามารถในการบดเคี้ยวทำให้สามารถเลือกรับประทานอาหารได้ตามต้องการ
- ช่วยเพิ่มความมั่นใจรวมถึงประสิทธิภาพในการออกเสียงและสนทนา
- มีความสะดวกสบายกว่าการใส่ฟันปลอมแบบทั่วไป
- ช่วยป้องกันการสูญเสียฟันบริเวณข้างเคียงและกระดูกรองรับอันเกิดจากการสูญเสียฟัน
- ช่วยส่งเสริมบุคลิก ทำให้แลดูอ่อนเยาว์ และให้ความสวยงามที่ดูเป็นธรรมชาติ
- ช่วยให้สุขภาพของช่องปากดีขึ้น
- มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน รวมถึงมีความทนทานสูง
- ลดปัญหาการเคลื่อนตัว การหลุดออก และความกังวลใจเกี่ยวกับการเลื่อนหลุดของฟันปลอม

รากฟันเทียมอยู่ได้นานเท่าใด ปกติแล้วการฝังรากเทียมจะอยู่ได้ 10-20 ปีขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและการไปพบทันตแพทย์
การดูแล ฟันเทียมติดแน่นหรือครอบฟันเดี่ยว
แปรงสีฟันของคุณคือกุญแจสำคัญต่อความมั่นใจและความสดใสของฟันในอนาคต แปรงฟันที่ติดบนรากเทียมเช่นเดียวกับฟันธรรมชาติของคุณ ทั้งเหนือและใต้ขอบเหงือกด้วยขนแปรงแบบอ่อนนุ่ม ยาสีฟันที่ใช้ควรมีผงขัดผสมอยู่ในปริมาณที่ต่ำควรมีการทำความสะอาดรากฟันทุกวัน เพื่อจะมีรากเทียมให้ใช้งานได้นาน ดังนั้นจึงเป็นความคิดที่ดีที่คุณความทำตามขั้นตอนทุกครั้งที่แปรงฟันแต่ละซี่ในปากของคุณ เพื่อให้มั่นใจว่าทำความสะอาดได้ครบถ้วนทุกตำแหน่ง
บริเวณที่ต้องทำความสะอาด
- ฟันที่ติดอยู่บนรากเทียม บริเวณเหนือและใต้ขอบเหงือก
- บริเวณซอกฟันที่อยู่ติดกัน

ขั้นตอน
1. แปรงสีฟัน มันอาจจะเป็นสิ่งที่จำเป็นในการปรับเปลี่ยนสำหรับด้านในของฟันและบริเวณที่ยากต่อการแปรง แปรงไฟฟ้าอาจเป็นทางเลือกที่ดีและง่ายต่อการจัดการความยุ่งยากนี้ ถ้าคุณใส่สะพานฟันติดแน่น ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ทำความสะอาดบริเวณใต้สะพานฟันแล้ว
2. End-tufted brush (แปรงกระจุกเดียว) แปรงกระจุกเดียวขนนุ่มเหมาะสำหรับตำแหน่งที่เข้าทำความสะอาดได้ยากบริเวณยากบริเวณรอบๆ ฟันที่ติดบนรากเทียม หรือบริเวณด้านในของฟันและบริเวณรอบ ส่วนของรากเทียมด้านนอกที่ใช้เป็นหลักยึดฟันเทียม
3. Interdental brush (แปรงซอกฟัน) แปรงซอกฟันใช้ทำความสะอาดด้านข้างของรากฟันเทียมที่เป็นหลักยึดครอบฟัน, abutment และบริเวณที่อยู่ใต้สะพานฟัน วิธีการแปรงจะถูในแนวหน้าหลังกลับไปกลับมาเป็นจังหวะสั้นๆ โดยออกแรง ถูไปกับด้านข้างของ abutment หรือส่วนรากเทียมที่ติดกับฟันแปรงที่ใช้ไม่ควรมีขนาดเล็กเกินไป อันจะเป็นผลทำให้ทำความสะอาดได้ลดลง หรือใหญ่เกินไปจนทำให้รู้สึกไม่สบายขณะแปรง แปรงที่ใช้แนะนำเป็นเส้นพลาสติก และความสอบถามวิธีการแปรงฟัน รวมถึงขนาดและรูปร่างของแปรงซอกฟันจากทันตแพทย์ของคุณ
4. Floss (ไหมขัดฟัน) ในบริเวณซอกฟันแคบๆที่ไม่สามารถทำความสะอาดด้วยแปรงซอกฟันได้ การใช้ไหมขัดฟันจะช่วยทำความสะอาด บริเวณระหว่างฟันเทียมกับส่วนที่ยึดอยู่ระหว่างรากเทียมกับฟันเทียม (abutment post) โดยการสอดผ่าน ไหมขัดฟันอย่างหนา ถูไปมาในแนวหน้าและหลัง ฟันที่ยึดกับรากเทียมและฟันที่อยู่ข้างล่างหรือผ่านบริเวณช่องที่อยู่ติดกับ abutment post ทำความสะอาดสะพานฟันที่ติดกับเหงือกโดยการถูด้านข้างเป็นจังหวะสั้นๆ